นวัตกรรม” หมายถึงความคิด
การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว
ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ลักษณะของนวัตกรรม
1. เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่
-
คิดหรือทำขึ้นใหม่
- เก่าจากที่อื่นพึ่งนำเข้า
-
คัดแปลงปรับปรุงของเดิม
- เดิมไม่เหมาะแต่ปัจจุบันใช้ได้ดี
- สถานการณ์การเอื้ออำนวยทำให้เกิดสิ่งใหม่
2.เป็นสิ่งได้รับการตรวจสอบหรือทดลองและพัฒนา
3.นำมาใช่หรือปฎิบัติได้ดี
4.มีการแพร่กระจายออกสู่ชุมชน
เทคโนโลยี
การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ
เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี
ความสัมพันธ์ระหว่าง
เทคโนโลยี กับ นวัตกรรม
นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี
เสมอๆ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่
ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้
ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี
นวัตกรรมเป็นการวิจัยหาวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ส่วน เทคโนโลยี คือ การนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีระบบ
นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ
อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก และเทคนิควิธีการต่างๆ
มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ตัวอย่างนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี
2.การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
3. ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน
4. ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
5. ช่วยลดเวลาในการสอน
6. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น